กระบี่ จัดทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อ


กระบี่ จัดทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อ ทั้งโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ โรคเอดส์ และการสื่อสารความเสี่ยงให้เป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ

วันที่ 27 พ.ค.62 นายสมควร ขันเงิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดกระบี่ ณ ห้องประชุมปลายพระยา ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดกระบี่ โดยประธานได้ติดตามความคืบหน้าการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ ระดับอำเภอ ต่อด้วยการติดตามสถานการณ์ ของโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นในมนุษย์ในช่วงหน้าทศวรรษที่ผ่านมา รวมถึงโรคติดเชื้อชนิดใหม่ที่เพิ่งค้นพบการระบาดในมนุษย์ เชื้อโรคที่กลายพันธ์ โรคติดเชื้อที่พบในพื้นที่ใหม่ รวมทั้งโรคติดต่ออุบัติซ้ำ โดยปัจจัยเกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต พฤติกรรม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การรบกวนธรรมชาติและระบบนิเวศน์ เช่น ซาร์ส โรคไข้หวัดนก โรคติดชื้อไวรัสนิปาร์ หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ เป็นต้น ส่วนโรคเอดและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พบว่า ในปี 2561 มีการคาดประมาณด้วยแบบจตำลองทางคณิตศาสตร์ พบว่าประเทศไทย มีผู้ติดเชื้อที่มีชีวิตอยู่ประมาณ 4.4 ล้านคน ผู้ติดเชื้อรายใหม่5,800 คน ผู้ติดเชื้อที่เสียชีวิตแล้ว 12,800 คน และมีแนวโน้มลดลงตามลำดับ แต่ความชุกของเชื้อในกลุ่มผู้ใช้ยาด้วยวิธีฉีดปี 2557 คิดเป็นร้อยละ 20.5 และในปี 2559 มีความชุกของเชื้อในกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศ พนักงานบริการชาย และกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย ร้อยละ 13.79 16.8 และ 26.61 ตามลำดับ ส่วนอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 5 โรคสำคัญ ปี 2558-2560 เมื่อจำแนกออกมาพบว่าป่วยเป็นโรคหนองในมากที่สุด รองมาเป็นโรคซิฟิลิส สำหรับจังหวัดกระบี่ ปี 2559-2561 มี่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี 2275 2369 และ 2463 รายตามลำดับ โดยในปี 2561 มีผู้ติดเชื้อรับยาต้านไวรัส 1907 ราย คิดเป็นร้อยละ 77.42 ซึ่งจังหวัดกระบี่ตั้งเป้าหมายว่าในปี 2563 จะไม่มีเด็กติดเชื้อ เอชไอวีเมื่อแรกเกิด ลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในผู้ใหญ่อายุ 15 ปีขึ้นไปเหลือไม่เกินปีละ 2,000 ราย ลดการเสียชีวิตลงเหลือปีละไม่เกิน 12,000 ราย และ ลดการเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อและเพศ ลดลงร้อยละ 50 ส่วนปีพ.ศ.2573 กำหนดว่าจะต้องลดการติดเชื้อในผู้ใหญ่รายใหม่ไม่เกินปีละ 1,000ราย ลดการเสียชีวิตลง เหลือไม่เกินปีละ 4,000 ราย และ ลดการเลือกปฏิบัติกับผู้ติดเชื้อและเพศลงร้อยละ 50 ส่วนการสื่อสารความเสี่ยงและภัยคุกคาม จะต้องดำเนินการอย่างถูกต้อง รวดเร็วและทันเหตุการณ์ ในการป้องกันการแพร่ะกระจายของโรคหรือความรุนแรงที่กระทบต่อสุขภาพ ลดจำนวนผู้ได้รับผลกระทบทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งต้องดำเนินการทั้งระยะก่อนเกิดเหตุ ระหว่างเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุ
จากข้อมูลดังกล่าว ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาร่างแผนปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อ ทั้งแผนปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ แผนปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และร่างแผนปฏิบัติการสื่อสารความเสี่ยง ปี 2562-2564 เพื่อนำสู่การขับเคลื่อนที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด



...

วิทยุ กระบี่ ข่าว www.fm104krabinews.com